แชร์

รู้หรือไม่? | ทฤษฎีระบบช่วงล่างรถยนต์ (SUSPENSIONS THEORY)

อัพเดทล่าสุด: 27 พ.ค. 2024
170 ผู้เข้าชม

ระบบช่วงล่าง หรือ ระบบรองรับ มีหน้าที่รองรับน้ำหนักตัวถังรถ, รับแรงสั่นสะเทือนจากสภาพผิวถนนให้เข้าไปยังห้องโดยสารน้อยลงและเพิ่มความสมดุลให้แก่ตัวรถยนต์ เพื่อให้สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น ซึ่งชิ้นส่วนพื้นฐานของระบบกันสะเทือน (Suspension System Parts) ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ ทำงานเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพื่อดูดซับแรงสั่นสะเทือนที่ถ่ายทอดมาจากผิวถนนดังนี้

1. เริ่มต้นที่ลิงค์ (Links) หรือแขนยึดรวมถึงปีกนก ซึ่งการจัดวางขึ้นอยู่กับการออกแบบในรถแต่ละรุ่น/แต่ละประเภทจะแตกต่างกันไปทั้งด้านหน้าและหลังตามวิศวกรที่ออกแบบ โดยลิงค์ไม่ได้ยึดอยู่อย่างโดดเดี่ยวมักมีหลายท่อนต่อเชื่อมกันตามหลักเรขาคณิต " โดยเป็นที่มาของคำว่า Multi - Links, 4 - Links, 5 - Links " เพื่อให้มุมล้อขยับเปลี่ยนแปลงไปให้น้อยที่สุดขณะระบบกันสะเทือนทำงาน คอยรักษาอาการตั้งฉากของหน้ายางกับผิวถนนไม่ว่าระบบกันสะเทือนจะยุบตัวหรือยืดตัวขณะรถวิ่ง

2. ถัดมาเป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็น "สปริง" ซึ่งมีทั้งรูปแบบ #คอลย์สปริง (Coil Spring), #แหนบ (Leaf Spring) และ #ถุงลม (Air Spring) รับหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือนโดยตรง ซึ่งความสามารถในการดูดซับก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการยุบตัว (หรือเรียกกันว่าค่า K) ทั้งนี้การเลือกค่า K ต้องให้สมดุลกับรถแต่ละรุ่น โดยขึ้นอยู่กับประเภทของรถ, น้ำหนักรถ, น้ำหนักบรรทุก ฯลฯ

***ด้วยคุณสมบัติการยุบตัวของ คอลย์สปริง, แหนบ และ ถุงลม หลังจากการทำงานต้องอาศัยระยะเวลาเพียงสั้นๆ เพื่อให้ตัวสปริงกลับคืนสู่สภาพปกติ เนื่องจากแรงเฉื่อยจากน้ำหนักรถกดลงบนสปริงทั้ง 4 ล้อ จะส่งผลให้รถเกิดการโยนตัว และสูญเสียการบังคับควบคุม

3. ดังนั้นสปริงจึงต้องทำงานร่วมกับ ช็อคอัพ (Shock Absorber) หรือ โช๊คอัพในภาษาที่เราคุ้นเคย [ ในภาษาวิศวกรรมเรียกว่า Dampers (อ่านว่า แดมเปอร์) ] ซึ่งโช๊คอัพนี้ทำหน้าที่หน่วงและซับแรงกระแทกเพื่อหยุดอาการเต้นของสปริงนั่นเอง

4. จากนั้นพาร์ทชิ้นสุดท้าย ได้แก่ เหล็กกันโคลง (Stabilizer Bar อ่านว่า สเตบิไลเซอร์ บาร์) รับหน้าที่รักษาระดับการเอียงด้านซ้าย - ขวา ของตัวถังรถยนต์ขณะหักเลี้ยว หรือเปลี่ยนเลน ช่วยรั้งดึงตัวถังรถให้กลับคืนสู่ระดับปกตินั่นเอง

Cr. แหล่งความรู้โดย หนังสือ Automobile Technology เล่ม 2 เขียนโดย คุณพิทักษ์ บุญท้วม (คอลัมนิสต์ GRANDPRIX)


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy